1. ระบบเปลือกอาคาร (OTTV, RTTV) ประเภท โรงมหรสพ
โรงมหรสพ โดยค่าการถ่ายเทความร้อนรวมของผนังด้านนอกของอาคาร และค่าการถ่ายเท ความร้อนรวมของหลังคาอาคาร ผ่านเข้าสู่ด้านในของอาคารที่มีการปรับอากาศของประเภทอาคาร (Overall Thermal Transfer Value; OTTV) ผ่านเข้าสู่ด้านในของอาคารที่มีการปรับอากาศของแต่ละประเภทอาคารต้องมีค่าไม่เกิน ดังต่อไปนี้
โรงมหรสพ | OTTV | RTTV |
ค่าการถ่ายเทความร้อนรวม ของผนังด้านนอกของอาคาร (วัตต์ต่อตารางเมตร) | 40 | 8 |
โดยค่ากค่าการถ่ายเทความร้อนรวมของผนังด้านนอกของอาคาร และค่าการถ่ายเท ความร้อนรวมของหลังคาอาคาร ผ่านเข้าสู่ด้านในของอาคารที่มีการปรับอากาศของประเภทโรงมหรสพ ให้คำนวณจากค่าเฉลี่ยที่ถ่วงน้ำหนักแต่ละด้านรวมกัน ตามประกาศกระทรวงพลังงาน เรื่อง หลักเกณฑ์ วิธีการ คำนวณ และการรับรองผลการตรวจประเมินในการออกแบบอาคาร เพื่อการอนุรักษ์พลังงานแต่ละระบบการใช้พลังงานโดยรวมของอาคารและการใช้พลังงานหมุนเวียน ในระบบต่าง ๆ ของอาคาร พ.ศ. 2564
2. ระบบไฟฟ้าแสงสว่าง (LPD)
ค่ากำลังไฟฟ้าส่องสว่างสูงสุด (Lighting Power Density; LPD) ของแต่ละประเภทอาคารต้องมีค่าไม่เกิน ดังต่อไปนี้
LPD | |
ค่ากำลังไฟฟ้าส่องสว่างสูงสุดของอาคาร (วัตต์ต่อตารางเมตร) | 11 |
โดยค่ากำลังไฟฟ้าส่องสว่างสูงสุดของอาคารแต่ละประเภท คำนวณจากค่าเฉลี่ย ต่อหน่วยพื้นที่ตามลักษณะการใช้งานของแต่ละพื้นที่แต่ละส่วน ตามประกาศกระทรวงพลังงาน เรื่อง หลักเกณฑ์ วิธีการ คำนวณ และการรับรองผลการตรวจประเมินในการออกแบบอาคาร เพื่อการอนุรักษ์พลังงานแต่ละระบบการใช้พลังงานโดยรวมของอาคารและการใช้พลังงานหมุนเวียน ในระบบต่าง ๆ ของอาคาร พ.ศ. 2564
3. ระบบปรับอากาศ
ระบบปรับอากาศต่ละประเภทและขนาดต่าง ๆ ที่ติดตั้งเพื่อใช้สำหรับอาคารต้องมี ค่าประสิทธิภาพพลังงาน สามารถอ่านได้จากบทความ ระบบปรับอากาศอาคารประหยัดพลังงาน ตามเกณฑ์ BEC ปี พ.ศ. 2564
4. อุปกรณ์ผลิตน้ำร้อน
ค่าประสิทธิภาพขั้นต่ำและค่าสัมประสิทธิ์สมรรถนะขั้นต่ำของอุปกรณ์ผลิตน้ำร้อนที่ติดตั้งเพื่อใช้สำหรับอาคาร สามารถอ่านได้จากบทความ อุปกรณ์ผลิตน้ำร้อนอาคารประหยัดพลังงาน ตามเกณฑ์ BEC ปี พ.ศ. 2564
5. การใช้พลังงานโดยรวมของอาคาร
กรณีที่ประสิทธิภาพของอุปกรณ์หรือระบบใดระบบหนึ่งหรือมากกว่าของอาคาร ที่พิจารณาไม่ผ่านเกณฑ์ประสิทธิภาพของระบบที่กำหนด อาคารดังกล่าวสามารถนำเข้าสู่ การพิจารณาประเมินตามเกณฑ์การพิจารณาการใช้พลังงานโดยรวมของทั้งอาคารได้ โดยคำนวณ ค่าการใช้พลังงานโดยรวมของอาคารดังกล่าวในรอบ 1 ปี
นำมาเปรียบเทียบกับค่าการใช้พลังงานโดยรวมในรอบ 1 ปี ของอาคารอ้างอิง อาคารจะผ่านเกณฑ์การใช้พลังงานโดยรวมได้ก็ต่อเมื่อ ค่าการใช้พลังงานโดยรวมของอาคารนั้นทั้งปีต่ำกว่าค่าการใช้พลังงานโดยรวมทั้งปีของอาคารอ้างอิง ซึ่งมีพื้นที่การใช้งานทิศทาง
และพื้นที่ของเปลือกอาคารแต่ละด้านเป็นเช่นเดียวกับอาคาร ที่จะก่อสร้างหรือดัดแปลง และอาคารอ้างอิง ต้องมีค่าระบบเปลือกอาคาร ระบบไฟฟ้าแสงสว่าง และระบบปรับอากาศเป็นไปตามข้อกำหนดของแต่ละระบบ โดยใช้วิธีคำนวณตามคำนวณตาม ประกาศกระทรวงพลังงาน เรื่อง หลักเกณฑ์ วิธีการคำนวณ และการรับรองผลการตรวจประเมินในการออกแบบอาคารเพื่อการอนุรักษ์พลังงานแต่ละระบบ การใช้พลังงานโดยรวมของอาคาร และการใช้พลังงานหมุนเวียนในระบบต่าง ๆ ของอาคาร พ.ศ. 2564
6. การใช้พลังงานหมุนเวียน
การใช้พลังงานหมุนเวียนเพื่อใช้สำหรับอาคาร สามารถอ่านได้จากบทความ การใช้พลังงานหมุนเวียน สำหรับอาคารประหยัดพลังงาน ตามเกณฑ์ BEC ปี พ.ศ. 2564