การใช้พลังงานหมุนเวียน สำหรับอาคารประหยัดพลังงาน ตามเกณฑ์ BEC ปี พ.ศ. 2564

การใช้พลังงานหมุนเวียน สำหรับอาคารประหยัดพลังงาน ตามเกณฑ์ BEC ปี พ.ศ. 2564

1. การใช้พลังงานหมุนเวียนเพื่อใช้สำหรับอาคาร ให้ยกเว้นการนับรวมการใช้ ไฟฟ้าบางส่วนในอาคาร ในกรณีที่ระบบไฟฟ้าแสงสว่างของอาคารที่มีการออกแบบเพื่อใช้แสงธรรมชาติเพื่อการส่องสว่างภายในอาคาร ในพื้นที่ตามแนวเปลือกอาคาร ให้ถือเสมือนว่าไม่มี การติดตั้งอุปกรณ์ไฟฟ้าแสงสว่างในพื้นที่ตามแนวเปลือกอาคารนั้น โดยการออกแบบดังกล่าว ต้องเป็นไปตามเงื่อนไข ดังต่อไปนี้

1.1 ต้องแสดงอย่างชัดเจนว่า มีการออกแบบสวิตช์ที่สามารถเปิดและปิดอุปกรณ์ไฟฟ้าแสงสว่างที่ใช้กับพื้นที่ตามแนวเปลือกอาคาร โดยอุปกรณ์ไฟฟ้าแสงสว่างต้อง มีระยะห่างจากเปลือกอาคารไม่เกิน 1.5 เท่าของความสูงของหน้าต่างในพื้นที่นั้น โดยนับจากพื้นถึงขอบบนของวงกบหน้าต่าง

1.2 กระจกหน้าต่างตามแนวเปลือกอาคารตาม (ข้อ 1.1) ต้องมีค่าประสิทธิผลของสัมประสิทธิ์การบังแดด (Effective Shading Coefficient) ไม่น้อยกว่า 0.3 และอัตราส่วนการส่งผ่านแสงต่อความร้อน (Light to Solar Gain) มากกว่า 1.0 และความกว้าง ของกระจกหน้าต่างตามแนวเปลือกอาคารตาม (ข้อ 1.1) ต้องไม่น้อยกว่าความกว้างของผนังทึบส่วนที่อยู่ด้านข้างของหน้าต่าง

2. การใช้พลังงานหมุนเวียนเพื่อใช้สำหรับอาคาร กรณีที่อาคารมีการผลิตไฟฟ้า จากแสงอาทิตย์ ให้อาคารดังกล่าวสามารถนำค่าพลังงานไฟฟ้าที่ผลิตได้ไปหักออกจากค่าการใช้พลังงานโดยรวมของอาคารก่อนเปรียบเทียบกับการใช้พลังงานโดยรวมของอาคารอ้างอิง พลังงานหมุนเวียนค่าพลังงานที่ผลิตได้จากแสงอาทิตย์ให้คิดจากค่าพลังงานไฟฟ้ารายปีที่ผลิต โดยเซลล์แสงอาทิตย์ (Photovoltaic Energy : PVE) มีหน่วยเป็นกิโลวัตต์ชั่วโมงต่อปี (kWh/y)

3. การใช้ความร้อนจากพลังงานหมุนเวียนเพื่อใช้สำหรับอาคาร สามารถเทียบ ค่าพลังงานความร้อนเป็นพลังงานไฟฟ้ารายปี (Heat to Electrical Energy : HEE) มีหน่วยเป็น กิโลวัตต์ชั่วโมงต่อปี (kWh/y) โดยให้อาคารสามารถนำค่าพลังงานไฟฟ้าที่เทียบดังกล่าว ไปหักออกจากค่าการใช้พลังงานโดยรวมของอาคาร

4. การใช้พลังงานหมุนเวียนในรูปแบบอื่น ๆ (Other Renewable Energy : ORE) นอกจากที่กำหนดไว้ในประกาศกระทรวงนี้ตามข้อ 2. และข้อ 3. ให้แสดงรายการคำนวณ ตามหลักวิศวกรรมเทียบเป็นค่าพลังงานไฟฟ้ารายปี มีหน่วยเป็นกิโลวัตต์ชั่วโมงต่อปี (kWh/y)

โดยการคำนวณค่าต่าง ๆ ให้ใช้วิธีคำนวณตามคำนวณตาม ประกาศกระทรวงพลังงาน เรื่อง หลักเกณฑ์ วิธีการคำนวณ และการรับรองผลการตรวจประเมินในการออกแบบอาคาร เพื่อการอนุรักษ์พลังงานแต่ละระบบ การใช้พลังงานโดยรวมของอาคารและการใช้พลังงานหมุนเวียนในระบบต่าง ๆ ของอาคาร พ.ศ. 2564

ในกรณีที่อาคารที่ขออนุญาตก่อสร้างหรือดัดแปลง เลือกวิธีการที่ใช้เพื่อผ่าน การประเมินพลังงาน (แบบ ออพ. 02) เป็นผ่านทุกรายระบบ ผู้ตรวจสอบจะต้องตรวจสอบการผ่าน หรือไม่ผ่านเกณฑ์มาตรฐานของค่าประสิทธิภาพพลังงานทุกระบบ หรือทุกอุปกรณ์ในส่วนที่ 1 ระบบเปลือกอาคาร (OTTV, RTTV) ส่วนที่ 2 ระบบไฟฟ้าแสงสว่าง (LPD) ส่วนที่ 3 ระบบปรับอากาศ ส่วนที่ 4 อุปกรณ์ผลิตน้ำร้อน (ถ้ามี) และในกรณีที่อาคารที่ขออนุญาตก่อสร้างหรือดัดแปลง เลือกวิธีการที่ใช้เพื่อผ่านการประเมินพลังงาน (แบบ ออพ. 02) เป็นผ่านการใช้พลังงานโดยรวม ของอาคาร ผู้ตรวจสอบจะตรวจสอบการผ่านหรือไม่ผ่านเกณฑ์มาตรฐานของค่าประสิทธิภาพ ของระบบ หรืออุปกรณ์เฉพาะอุปกรณ์ผลิตน้ำร้อนในส่วนที่ 4 (ถ้ามีการใช้) และการใช้พลังงาน โดยรวมของอาคาร ส่วนที่ 5 เท่านั้น

หมายเหตุ

1. เหตุผลที่ต้องตรวจสอบอุปกรณ์ผลิตน้ำร้อน เนื่องจากไม่เกี่ยวข้องกับการคำนวณการใช้พลังงานโดยรวมของอาคาร

2. การใช้พลังงานหมุนเวียนในระบบต่าง ๆ ของอาคาร ในกรณีที่มีการใช้พลังงานหมุนเวียนในอาคารให้ยกเว้นการนับรวมการใช้ไฟฟ้าบางส่วนในอาคารได้ กล่าวคือ ในกรณีที่ระบบไฟฟ้าแสงสว่างของอาคารที่มีการออกแบบ เพื่อใช้แสงธรรมชาติเพื่อการส่องสว่างภายในอาคาร ในพื้นที่ตามแนวเปลือกอาคาร ให้ถือเสมือนว่าไม่มีการติดตั้งอุปกรณ์ไฟฟ้าแสงสว่างในพื้นที่ ตามแนวเปลือกอาคารนั้น โดยการออกแบบดังกล่าวต้องเป็นไปตามเงื่อนไขดังต่อไปนี้

2.1 ต้องแสดงอย่างชัดเจนว่ามีการออกแบบสวิตช์ที่สามารถเปิดและปิดอุปกรณ์ไฟฟ้าแสงสว่างที่ใช้กับพื้นที่ตามแนวเปลือกอาคาร โดยอุปกรณ์ไฟฟ้าแสงสว่างต้องมีระยะห่าง จากเปลือกอาคารไม่เกิน 1.5 เท่าของความสูงของหน้าต่างในพื้นที่นั้น

2.2 กระจกหน้าต่างตามแนวเปลือกอาคารตาม (1) ต้องมีค่าประสิทธิผล ของสัมประสิทธิ์การบังแดด (Effective Shading Coefficient) ไม่น้อยกว่า 0.3 และอัตราส่วน การส่งผ่านแสงต่อความร้อน (Light to Solar Gain) มากกว่า 1.0

และพื้นที่กระจกหน้าต่าง ตามแนวเปลือกอาคารตาม (1) ต้องไม่น้อยกว่าพื้นที่ผนังทึบ และในกรณีที่มีการผลิตพลังงานไฟฟ้าจากแสงอาทิตย์เพื่อใช้ในอาคาร สามารถนำค่าพลังงานไฟฟ้าที่ผลิตได้ ไปหักออกจากค่าการใช้พลังงานโดยรวมของอาคารได้

Message us