ข้อกำหนดของ กฎหมายอาคารอนุรักษ์พลังงาน BEC

ข้อกำหนดของ กฎหมายอาคารอนุรักษ์พลังงาน BEC กรมพัฒนาพลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงานได้ออกกฎกระทรวงกำหนดประเภทหรือขนาดของอาคาร และมาตรฐานหลักเกณฑ์และวิธีการในการออกแบบอาคารเพื่อการอนุรักษ์พลังงาน พ.ศ. 2563 หรือที่เรียกอีกชื่อหนึ่งว่า เกณฑ์มาตรฐานอาคารด้านพลังงาน (Building Energy Code หรือ BEC) โดยในแผนอนุรักษ์พลังงาน 20 ปี พ.ศ. 2561-2580 (Energy Efficiency Plan: EEP2018)

ได้มีการใช้ดัชนีความเข้มของการใช้พลังงาน (Energy Intensity, EI) หรือพลังงาที่ใช้ พันตันเทียบเท่าน้ำมันดิบ (ktoe) ต่อหน่วยผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ (GDP) เป็นแนวทางการในการกำหนดนโยบายและจัดทำแผนอนุรักษ์พลังงานในระยะยาวของประเทศไทย โดยได้กำหนดเป้าหมายลดความเข้มของการใช้พลังงาน (EI) ของประเทศ ให้ลดลงร้อยละ 30 ในปี พ.ศ. 2580 (เทียบกับปี พ.ศ. 2553) คิดเป็นเป้าหมายผลการประหยัดพลังงานเท่ากับ 49,064 ktoe ของปริมาณการใช้พลังงานขั้นสุดท้ายทั้งหมดของประเทศ

โดยมีการวางแผนงานและจัดทำยุทธศาสตร์เพื่อขับเคลื่อนแผนการลดการใช้พลังงานสู่ภาคปฏิบัติในทุกภาคส่วน ซึ่งในภาค ของอาคารเป็นการดำเนินกลยุทธ์ภาคบังคับโดยกำกับดูแลผู้ใช้พลังงานรายใหญ่ในภาคส่วนต่าง ๆ การกำกับในภาคของอาคารเป็นการใช้เกณฑ์มาตรฐานประสิทธิภาพการใช้พลังงาน (Energy Code) มุ่งเน้นให้มีการผลักดันและบังคับใช้กฎหมายที่กำหนดในมาตรการบังคับมาตรฐานอาคารก่อสร้างใหม่เพื่อการอนุรักษ์พลังงาน รวมถึงหลังเกณฑ์วิธีการในการออแบบและการอนุรักษ์พลังงาน อย่างเหมาะสม

โดยมีเป้าหมายลดความต้องการใช้พลังงานไฟฟ้าคิดเป็น 1,574 ktoe และได้วางกลยุทธ์การทำงานตามแผนอนุรักษ์พลังงาน EEP2018 ตามกฎกระทรวงกำหนดประเภท หรือขนาดของอาคาร และมาตรฐาน หลักเกณฑ์ และวิธีการในการออกแบบอาคารเพื่อการอนุรักษ์พลังงาน พ.ศ. 2563 และประกาศกระทรวงเพื่อการออกแบบอาคารเพื่อการอนุรักษ์พลังงาน โดยมีการบูรณาการการทำงานและประสานงานกับกรมโยธาธิการและผังเมือง ให้บังคับเกณฑ์มาตรฐาน BEC เป็นหนึ่งในข้อบังคับของการขออนุญาตก่อสร้าง และดำเนินงานกับหน่วยงาน อื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องร่วมด้วย

กฎหมายอาคารอนุรักษ์พลังงาน

ภาพที่ 1 เป้าหมายการลดใช้พลังงานในอาคารตามแผน EEP 2018

กฎกระทรวงดังกล่าวประกาศในราชกิจจานุเบกษาเมื่อวันที่ 12 พฤศจิกายน พ.ศ. 2563 มีผลบังคับใช้ กับอาคาร 9 ประเภท ที่มีขนาดพื้นที่รวมกันทุกชั้นในอาคารหลังเดียวตั้งแต่ 2,000 ตารางเมตรขึ้นไป โดยในปีแรกจะบังคับใช้กับอาคารที่มีขนาดพื้นที่ 10,000 ตารางเมตร ขึ้นไป ตั้งแต่วันที่ 13 มีนาคม พ.ศ. 2564 จากนั้นเมื่อพ้นระยะเวลา 1 ปี จะเริ่มบังคับใช้กับอาคารที่มีขนาดพื้นที่ 5,000 ตารางเมตรขึ้นไป ตั้งแต่วันที่ 13 มีนาคม พ.ศ. 2565 และจะบังคับใช้กับอาคารที่มีขนาดพื้นที่ 2,000 ตารางเมตรขึ้นไป ตั้งแต่วันที่ 13 มีนาคม พ.ศ. 2566 เป็นต้นไป ทั้งนี้ระยะเวลาที่จะเริ่มบังคับใช้ขึ้นอยู่กับความเห็นชอบของคณะกรรมการควบคุมอาคาร

กฎกระทรวง กำหนดประเภท หรือขนาดของอาคาร และมาตรฐาน หลักเกณฑ์ และวิธีการในการออกแบบอาคารเพื่อการอนุรักษ์พลังงาน พ.ศ. 2563

ประกาศคณะกรรมการควบคุมอาคาร เรื่อง การนากฎกระทรวงกาหนดประเภท หรือขนาดของอาคาร และมาตรฐาน หลักเกณฑ์ และวิธีการในการออกแบบอาคารเพื่อการอนุรักษ์พลังงาน พ.ศ. 2563 มาใช้บังคับกับการควบคุมอาคาร ตามกฎหมายว่าด้วยการควบคุมอาคาร พ.ศ. 2565

ภาพที่ 2 กำหนดการในการบังคับใช้กฎหมายพลังงาน

สาระสำคัญของการกำหนดค่ามาตรฐานการออกแบบอาคารเพื่อการอนุรักษ์พลังงาน ตามประกาศกระทรวงพลังงาน เรื่อง กำหนดค่ามาตรฐานการออกแบบอาคารเพื่อการอนุรักษ์พลังงาน พ.ศ. 2564 และประกาศกระทรวงพลังงาน เรื่อง หลักเกณฑ์ วิธีการคำนวณและการรับรองผลการตรวจประเมินในการออกแบบอาคารเพื่อการอนุรักษ์พลังงานแต่ละระบบ การใช้พลังงานโดยรวมของอาคาร และการใช้พลังงานหมุนเวียนในระบบต่าง ๆ ของอาคาร พ.ศ. 2564 มีการกำหนดเกณฑ์มาตรฐานขั้นต่ำในการออกแบบอาคารเพื่อการอนุรักษ์พลังงาน จำนวน 6 ระบบ ดังนี้

1. ระบบเปลือกอาคาร (OTTV, RTTV)
2. ระบบไฟฟ้าแสงสว่าง (LPD)
3. ระบบปรับอากาศ
4. อุปกรณ์ผลิตน้ำร้อน
5. การใช้พลังงานโดยรวมของอาคาร
6. การใช้พลังงานหมุนเวียน

กฎหมายอาคารอนุรักษ์พลังงาน

ภาพที่ 3 เกณฑ์มาตรฐานการอนุรักษ์พลังงาน 6 ระบบ

พร้อมทั้งมีการกำหนดให้มีผู้ตรวจประเมินในการออกแบบก่อสร้างหรือดัดแปลงอาคาร เพื่อการอนุรักษ์พลังงานที่ผ่านการอบรมตามเกณฑ์ที่กำหนด และได้รับการรับรองจากกรมพัฒนาพลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงาน (พพ.) การกำหนดวิธีการและขั้นตอนการรับรองผลการตรวจประเมิน และการกำหนดรูปแบบเอกสารที่ใช้ยื่นขออนุญาตก่อสร้างหรือดัดแปลงอาคาร

ซึ่งกฎกระทรวงกำหนดประเภท หรือขนาดของอาคาร และมาตรฐาน หลักเกณฑ์ และวิธีการ ในการออกแบบอาคารเพื่อการอนุรักษ์พลังงาน พ.ศ. 2563 ได้มีการบังคับใช้กับอาคาร ที่จะก่อสร้างใหม่หรือมีการดัดแปลง 9 ประเภทอาคาร ได้แก่

1. โรงมหรสพตามกฎหมายว่าด้วยการควบคุมอาคาร
2. โรงแรมตามกฎหมายว่าด้วยโรงแรม
3. สถานบริการตามกฎหมายว่าด้วยสถานบริการ
4. สถานพยาบาลตามกฎหมายว่าด้วยสถานพยาบาล
5. สถานศึกษาตามกฎหมายว่าด้วยการศึกษาแห่งชาติ
6. สำนักงานหรือที่ทำการ
7. ห้างสรรพสินค้าหรือศูนย์การค้า
8. อาคารชุดตามกฎหมายว่าด้วยอาคารชุด
9. อาคารชุมนุมคนตามกฎหมายว่าด้วยการควบคุมอาคาร

ภาพที่ 4 อาคารที่จะก่อสร้างใหม่หรือการดัดแปลง 9 ประเภทอาคารที่อยู่ในขอบเขต การบังคับใช้กฎหมาย

เนื่องจากวิธีการคำนวณการใช้พลังงานในระบบต่าง ๆ มีด้วยกันหลายวิธี ดังนั้นเพื่อป้องกันปัญหาข้อขัดแย้งที่อาจจะเกิดขึ้น จึงได้กำหนดหลักเกณฑ์ และวิธีการคำนวณการใช้พลังงาน ในระบบต่าง ๆ รวมถึงการใช้พลังงานโดยรวมของอาคาร และการใช้พลังงานหมุนเวียนในระบบ ต่าง ๆ ของอาคารให้เป็นวิธีเดียวกัน เพื่อให้ผู้ที่ประสงค์จะก่อสร้างหรือดัดแปลงอาคารใช้เป็นเกณฑ์ในการคำนวณการใช้พลังงานในอาคารที่จะก่อสร้างใหม่หรือดัดแปลงอาคารที่มีพื้นที่รวมกันตั้งแต่ 2,000 ตารางเมตรขึ้นไป สำหรับอาคาร 9 ประเภท ตามที่กำหนดไว้ในกฎกระทรวงฯ ซึ่งแบ่งออกเป็นหมวดต่าง ๆ ได้ดังนี้

หมวด 1 ประเภทและขนาดของอาคารเพื่อการอนุรักษ์พลังงาน

หมวด 2 มาตรฐาน หลักเกณฑ์ และวิธีการในการออกแบบอาคารเพื่อการอนุรักษ์พลังงาน

1. ระบบเปลือกอาคาร (OTTV, RTTV)
2. ระบบไฟฟ้าแสงสว่าง (LPD)
3. ระบบปรับอากาศ
4. อุปกรณ์ผลิตน้ำร้อน
5. การใช้พลังงานโดยรวมของอาคาร
6. การใช้พลังงานหมุนเวียน

หลักเกณฑ์และวิธีการคำนวณในการออกแบบอาคาร ดังกล่าว ค่อนข้างจะมีความยุ่งยากซับซ้อนในการคำนวณ ดังนั้น เพื่อเป็นการแก้ไขปัญหาซึ่งอาจเป็นข้อจำกัดของผู้ดำเนินการ กรมพัฒนาพลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงาน (พพ.) จึงได้พัฒนาโปรแกรม Building Energy Code (BEC) ซึ่งเป็นโปรแกรมที่พัฒนาขึ้นเพื่อเป็นเครื่องมือคำนวณค่าการอนุรักษ์พลังงานตามเกณฑ์มาตรฐานการออกแบบอาคารเพื่อการอนุรักษ์พลังงาน และตรวจสอบความสอดคล้องของแบบอาคารที่จะก่อสร้างหรือดัดแปลงว่าเป็นไปตามหลักเกณฑ์และมาตรฐานการออกแบบอาคารเพื่อการอนุรักษ์พลังงาน ตามกฎกระทรวงฯ หรือไม่

ภาพที่ 5 โปรแกรม Web-based

ซึ่งผู้ที่ผ่านการอบรมจะสามารถใช้โปรแกรมฯ นี้เป็นเครื่องมือสนับสนุนการทำงานได้เป็นอย่างดี สามารถดาวน์โหลดโปรแกรมหรือใช้งานโปรแกรมระบบ Web-based ได้ที่เว็บไซต์ศูนย์ประสานงานการออกแบบอาคารเพื่อการอนุรักษ์พลังงาน https://2e-building.dede.go.th/

Message us